วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี[1]
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย[2]
วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น
ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ปลาทอง
ประวัติปลาทอง
ทางประวัติศาสตร์เชื่อได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลาทองมีมานานกว่าหนึ่งพันปีแล้ว หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง คือ รูปวาดปลาทองซึ่งมีเกล็ดสีแดงที่ลำตัวจำนวนมากกำลังว่ายน้ำอยู่ในบ่อ อายุรูปภาพกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาทองเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ ไซไพร์นิดี้ (Family Cyprinidae) จัดเป็นปลาวงศ์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีปลาอยู่เกือบ 2,000 ชนิด ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีปลาที่เราพอรู้จักคือ ปลาทอง ปลาไน และปลาตะเพียน จากการศึกษาพบว่า ปลาเงินปลาทองเป็นปลาซึ่งเกิดจากการผ่าเหล่ามาจากปลาไน (Crucian carp) ปลาเงินปลาทองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus linn. ประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองได้สำเร็จคือ ประเทศจีน แต่ประเทศที่พัฒนาพันธุ์ปลาทองให้มีสีและลวดลายสวยงามคือประเทศญี่ปุ่น และเพียงเวลาไม่นานนัก ญี่ปุ่นก็ครองความเป็นจ้าวในการส่งออกปลาทองไปขายต่างประเทศ ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้พันธุ์ปลาทองเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาในที่สุด
ปลา ทองพันธุ์สามัญ (Common fish) เป็นปลาต้นสายพันธุ์ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนด้านข้าง หัวสั้นกว้างและไม่มีเกล็ด เป็นปลาที่อดทน กินอาหารง่ายและลูกดก สีสันคล้ายปลาไนมาก ในประเทศไทย สัณนิฐานได้ว่ามีผู้นำปลาเงินปลาทองเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกในสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนกลาง โดยนำเข้ามาจากประเทศจีนเนื่องจากมีการค้าติดต่อกันในช่วงนั้น ทางประวัติศาสตร์เชื่อได้ว่าการเพาะพันธุ์ปลาทองมีมานานกว่าหนึ่งพันปีแล้ว หลักฐานที่แสดงให้เห็นถึง คือ รูปวาดปลาทองซึ่งมีเกล็ดสีแดงที่ลำตัวจำนวนมากกำลังว่ายน้ำอยู่ในบ่อ อายุรูปภาพกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ปลาทองเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์ ไซไพร์นิดี้ (Family Cyprinidae) จัดเป็นปลาวงศ์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมีปลาอยู่เกือบ 2,000 ชนิด ซึ่งปลาในวงศ์นี้มีปลาที่เราพอรู้จักคือ ปลาทอง ปลาไน และปลาตะเพียน
จาก การศึกษาพบว่า ปลาเงินปลาทองเป็นปลาซึ่งเกิดจากการผ่าเหล่ามาจากปลาไน (Crucian carp) ปลาเงินปลาทองมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus linn. ประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองได้สำเร็จคือ ประเทศจีน แต่ประเทศที่พัฒนาพันธุ์ปลาทองให้มีสีและลวดลายสวยงามคือประเทศญี่ปุ่น และเพียงเวลาไม่นานนัก ญี่ปุ่นก็ครองความเป็นจ้าวในการส่งออกปลาทองไปขายต่างประเทศ ผลที่ตามมาก็คือ ทำให้พันธุ์ปลาทองเป็นที่แพร่หลายและเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาในที่สุด ปลาทองพันธุ์สามัญ (Common fish) เป็นปลาต้นสายพันธุ์ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนด้านข้าง หัวสั้นกว้างและไม่มีเกล็ด เป็นปลาที่อดทน กินอาหารง่ายและลูกดก สีสันคล้ายปลาไนมาก ในประเทศไทย สัณนิฐานได้ว่ามีผู้นำปลาเงินปลาทองเข้ามาเลี้ยงครั้งแรกในสมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนกลาง โดยนำเข้ามาจากประเทศจีนเนื่องจากมีการค้าติดต่อกันในช่วงนั้น
พันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
เทคนิคการเลือกซื้อปลาทอง
เทคนิคการเลี้ยงปลาทอง "เลี้ยงอย่างไรจึงสวย"
เทคนิคการเพาะพันธุ์และการอนุบาลลูกปลาทอง
การเลือกซื้อปลาทอง
มีส่วนหัว ลำตัว และหางที่สมส่วนกัน เวลาว่ายน้ำส่วนหัวไม่ทิ่มลงพื้นหรือว่ายหงายท้อง
สีสันสดใส เกล็ดเรียงเป็นระเบียบสวยงาม
สุขภาพดี ดูได้จากการว่ายน้ำไปมาตามธรรมชาติ ไม่ปล่อยตัวลอยไปตามน้ำหรือลอยคอผิวน้ำเกือบตลอดเวลา
สำหรับปลาหัวสิงห์ หลังของปลาจะต้องโค้งสวย ไม่มีปุ่มบนหลังหรือหลังปลาบุ๋มลงไป
ครีบและหางของปลาไม่พันงอหรือขาด ครีบมีลักษณะเท่ากัน เวลาว่ายน้ำ ครีบเบ่งบานสวยงาม ไม่ลู่
. ลักษณะของปลาทองพันธุ์หัวสิงห์
ลักษณะ หัวสิงห์ญี่ปุ่น หังสิงห์จีน หัวสิงห์สยาม หัวสิงห์ลูกผสม หัวสิงห์ตากลับ หัวสิงห์ตาลูกโป่ง
หัวและนัยน์ตา - วุ้นเนื้อละเอียด ไม่แตก วุ้นบริเวณมุมปากมีลักษณะคล้ายเขี้ยว
- มีวุ้นครบทั้ง 3 ส่วน คือส่วนบนของหัว กระพุ้งแก้มและบริเวณเหนือริมฝีปาก
- วุ้นไม่ปิดตาจนมิด ตาสดใส - หัววุ้นมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ลักษณะวุ้นเป็นเม็ดเล็กหรือใหญ่ขนาดสม่ำเสมอ
- วุ้นไม่ปิดตาจนมิด ตาสดใส - วุ้นมีทั้งแบบสิงห์จีน และสิงห์ญี่ปุ่น ลักษณะวุ้นเป็นเม็ดคล้ายสิงห์จีนแต่แน่นกว่า หรือวุ้นเป็นหลืบคล้ายมันสมอง
- วุ้นต้องปิดตาจนมิด - ลักษณะวุ้นเป็นเม็ดคล้ายสิงห์จีนแต่แน่นกว่า หรือวุ้นเป็นหลืบคล้ายมันสมอง
- วุ้นไม่ปิดตาจนมิด ตาสดใส - หัวไม่มีวุ้น หรือมีเคลือบวุ้นเล็กน้อย
- ตาใหญ่ สดใส ตาทั้งสองข้างเสมอกัน และหงายแหงนมองฟ้าเสมอ - หัวไม่มีวุ้นหรือเคลือบวุ้นเล็กน้อย
- มีถุงน้ำใต้ตาคล้ายลูกโป่ง ถุงน้ำโปร่งแสง
- ตาและถุงน้ำใต้ตาทั้งสองข้างเสมอกัน
ลำตัว - ไม่มีครีบหลัง หลังโค้งมนรูปไข่ไก่
- ลำตัวขนาดใหญ่ หนา มองจากด้านบน ลำตัวไม่คดงอ
-เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ - ไม่มีครีบหลัง หลังตรงหรือลาดโค้งเล็กน้อย
- ลำตัวค่อนข้างกลม หนา ไม่คดงอ
- เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ - ไม่มีครีบหลัง หลังโค้งมนรูปไข่ไก่
- ลำตัวขนาดใหญ่ หนา มองจากด้านบนลำตัวไม่คดงอ
- เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ - ไม่มีครีบหลัง หลังโค้งมนรูปไข่ไก่
- ลำตัวขนาดใหญ่ หนา มองจากด้านบนลำตัวไม่คดงอ
- เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ - ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว หลังตรงหรือโค้งลาดเล็กน้อย
- เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ - ลำตัวยาว หลังตรงหรือโค้งลาดเล็กน้อย
เกล็ดเป็นเงางาม เรียงเป็นระเบียบ
ครีบหาง - ครีบหางสั้น ตั้ง ต่อกับลำตัว เป็นมุมแหลมประมาณ 45 องศา
- ครีบหางหนา อาจมี 3 หรือ 4 แฉก
- ครีบหางแผ่กว้าง - ครีบหางใหญ่
- หางลาด ปลายหางเสมอ แนวเดียวกับสันหลัง - ครีบหางสั้น ตั้ง ต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมประมาณ 45 องศา
- ครีบหางหนาอาจมี 3 หรือ 4 แฉก - ครีบหางสั้น ตั้ง ต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมประมาณ 45 องศา
- ครีบหางหนาอาจมี 3 หรือ 4 แฉก - ครีบหางยาว
- หางลาด ปลายหางเสมอแนวเดียวกับสันหลัง หรือสูงกว่า - ครีบหางยาว
- หางลาด ปลายหางเสมอแนวเดียวกับสันหลัง หรือสูงกว่า
สี - สีเข้มสดใส
- มีทุกสี - สีเข้มสดใส
- มีทุกสี - สีดำปลอด - สีเข้มสดใส
- มีทุกสี - สีเข้มสดใส
- มีทุกสี - สีเข้มสดใส
- มีทุกสี
รูปทรงและการทรงตัว - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี
- มองจากด้านบนเหมือน รูปเหรียญโคบัน (Koban) - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี
- มองด้านบนสันหลังตรง - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี
ครีบทวาร - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ - ครีบคู่ หรือ ครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ
ครีบอื่นๆ - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา - ครีบคู่เสมอกันทั้งซ้ายและขวา
2. ลักษณะเด่นของปลาทองพันธุ์ออรันดา
ลักษณะ ออรันดาหัววุ้น ออรันดาหัวแดง ออรันดาห้าสี ออรันดาหางพวง
หัว - วุ้นมาก มองจากด้านบนเห็นเป็นก้อนกลมหรือเหลี่ยม วุ้นใสสีสด - วุ้นเป็นก้อนกลมสีแดง เหมือนสวมหมวกสีแดง วุ้นบริเวณข้างแก้มและใต้คางไม่มีหรือมีบ้างเล็กน้อย - วุ้นมาก ขนาดสม่ำเสมอ - วุ้นน้อย หรือ ไม่มีวุ้น
ลำตัว - มองจากด้านข้างลำตัวแบนกว้างและไม่สั้นจนเกินไป - มองจากด้านข้างลำตัวแบนกว้างและไม่สั้นจนเกินไป
- เกล็ดเรียงเป็นระเบียบ สม่ำเสมอ เป็นเงาสดใส - มองจากด้านข้างลำตัวแบนกว้าง ไม่สั้นจนเกินไป
- เกล็ดเรียงเป็นระเบียบ สม่ำเสมอ เป็นเงาสดใส - ลำตัวค่อนข้างยาว
ครีบ หาง - ครีบหางค่อนข้างหนา แผ่กว้าง ไม่สั้นจนเกินไป - ครีบหางค่อนข้างหนา แผ่กว้าง ไม่สั้นจนเกินไป - ครีบหางค่อนข้างหนา แผ่กว้าง ไม่สั้นจนเกินไป - หางยาวเป็นพวง
สี - สีเข้มสดใส มีทุกสี - ลำตัวสีขาวเงิน วุ้นบนหัวสีแดงเข้ม - มีครบทั้ง 5 สี (ฟ้า ดำ แดง ขาว ส้ม) สีกระจายสม่ำเสมอ - มีทุกสี
ครีบ หลัง - ครีบหลังตั้ง ไม่พับทั้งขณะว่ายน้ำและหยุดนิ่ง -ครีบหลังตั้ง ไม่พับทั้งขณะว่ายน้ำและหยุดนิ่ง -ครีบหลังตั้ง ไม่พับทั้งขณะว่ายน้ำและหยุดนิ่ง - ตรีบหลังพลิ้วยาว
ครีบทวาร - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ
รูปทรงและการทรงตัว - สามารถว่ายน้ำทรงตัวได้ดี - สามารถว่ายน้ำทรงตัวได้ดี - สามารถว่ายน้ำทรงตัวได้ดี - สามารถว่ายน้ำทรงตัวได้ดี
ครีบอื่นๆ - ครีบคู่เสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่เสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่เสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่เสมอกัน ไม่พับ
3. ลักษณะเด่นของปลาทองพันธุ์ริวกิ้น และ ปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว
ลักษณะ ริวกิ้น เกล็ดแก้วหน้าหนู เกล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้วหัวมงกุฏ
หัว - หัวสั้น ปากแหลม ไม่มีวุ้น - ปากแหลม หน้าสั้น ไม่มีวุ้น - มีวุ้น - มีวุ้นเป็นก้อนกลมเดี่ยว
เกล็ด -
- เกล็ดพองโตขนาดสม่ำเสมอ - เกล็ดพองโต เรียงไล่ขนาดเป็นระเบียบ เกล็ดบริเวณกลางลำตัวขนาดใหญ่กว่าส่วนหัว ส่วนท้าย หลัง และท้อง - เกล็ดพองโต เรียงไล่ขนาดเป็นระเบียบ เกล็ดบริเวณกลางลำตัวขนาดใหญ่กว่า ส่วนหัว ส่วนท้าย หลังและท้อง
ลำตัว - มองจากด้านข้างลำตัวค่อนข้างกว้าง ส่วนท้องอ้วนกลม มองจากด้านหน้าโหนกหลังสูงเท่ากันส่วนโค้งของคอและท้อง เกล็ดเรียงเป็นระเบียบ เป็นเงาสดใส - มองจากด้านบนลำตัว กลมสั้น หัวท้ายแหลม ท้องอูมเป่ง หลังตรง ท้องอูมเป่ง หลังตรง ท้องอูมเป่ง
ครีบหลัง - ครีบหลังสูง ตั้งตรงทั้งขณะว่ายน้ำและหยุดนิ่ง - ตั้งตรง - ตั้งตรง - ตั้งตรง
ครีบ หาง - ครีบหาง 3 แฉก หรือ 4 แฉก ไม่สั้นจนเกินไป หางไม่พับ - หางยาวปานกลาง ครีบหางมี 3 หรือ 4 แฉก ไม่พับ - หางสั้น ครีบหางมี 3 หรือ 4 แฉก ไม่พับ - หางสั้น ครีบหางมี 3 หรือ 4 แฉก ไม่พับ
สี - สีเข้ม ขาว-แดง ส้ม ห้าสี (ฟ้า แดง ดำ ขาว ส้ม) สีสมดุลย์ทั้ง 2 ข้าง - มีทุกสี - มีทุกสี - มีทุกสี
ครีบทวาร - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวที่เกิดโดยธรรมชาติ
รูปทรงและการทรงตัว - ซ้ายและขวาเสมอกัน ว่ายน้ำทรงตัวดี - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดื - ซ้ายและขวาเสมอกัน
- การทรงตัวดี
ครีบอื่นๆ - ครีบคู่เสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ
4. ลักษณะเด่นของปลาทองพันธุ์ตาโปน
ลักษณะ เล่ห์กระโปรง เล่ห์ตุ๊กตา ตาโปนห้าสี ตาโปนญี่ปุ่น เล่ห์ควาย ผีเสื้อ (หลังอูฐ)
นัยน์ตา - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน - ตามีขนาดใหญ่เสมอกัน ตาโปนออกนอกเบ้าตา มองไปด้านหน้าหรือด้านข้างเสมอกัน
ลำตัว - กลมสั้น - กลมสั้น - กลมสั้น - กลมสั้น - ขนาดใหญ่ ค่อนข้างยาว - กลมสั้น หลังยกสูง ท้องอ้วนกลม
ครีบ หลัง - ตั้งตรงสูง ไม่พับ - ตั้งตรงสูง ไม่พับ - ตั้งตรงสูง ไม่พับ - ตั้งตรงสูง ไม่พับ - ตั้งตรงสูง ไม่พับ - ตั้งตรงสูง ไม่พับ
ครีบหาง - หางยาวคล้ายกระโปรงสุ่ม - หาง 3 หรือ 4 แฉก และเว้าลึก ค่อนข้างหนา ยาวปานกลาง หางไม่ตก - หาง 3 หรือ 4 แฉก และเว้าลึก - หาง 3 หรือ 4 แฉก และเว้าลึก - หางยาวเป็นพวง - หาง 3 หรือ 4 แฉก สั้น บานออกคล้ายผีเสื้อ
สี - ดำสนิท - ดำสนิท - ห้าสี (ฟ้า แดง ดำ ขาว ส้ม) ขาวแดง ขาวส้ม ส้ม หรือ ขาวดำ - ดำ หรือ นาก - ดำ หรือ นาก
รูป ทรงและการทรงตัว - เวลาหยุดจะนิ่งสนิท ว่ายน้ำทรงตัวดี - ไม่หยุดนิ่งเป็นเวลานาน ว่ายน้ำทรงตัวดี - การทรงตัวดี - การทรงตัวดี - การทรงตัวดี - การทรงตัวดี
ครีบทวาร - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ - ครีบคู่หรือครีบเดี่ยวโดยธรรมชาติ
ครีบ อื่นๆ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ - ครีบคู่ยาวเสมอกัน ไม่พับ
ที่มาhttp://www.madogun.com/simple/?t3671.html
วันวาเลนไทน์
วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโนซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้
ประวัติกีฬาฟุตบอล
ประวัติกีฬาฟุตบอล
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่น
มากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง
ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม
ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอล
ในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
มากที่สุดในโลก ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง
ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม
ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอล
ในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
ประวัติศาสตร์ไทย
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี[1] ทั้งยังมีหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณในอาณาเขตดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548
อาณาจักรสุโขทัยซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 1781 ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกจากนี้ ในรัชสมัยของพระองค์ยังมี แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ อาณาจักรอยุธยาก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 1893 มีความยิ่งใหญ่กว่าอาณาจักรสุโขทัยเดิม เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก ก่อนจะล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิงใน พ.ศ. 2310 พระยาตากได้รวบรวมไพร่พลกอบกู้เอกราช และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325
การลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ชาติตะวันตกหลายชาติเข้ามาทำสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมอีกหลายฉบับ ต่อมา แม้จะมีการเสียดินแดนหลายครั้งให้แก่ฝรั่งเศสและอังกฤษ แต่อาณาจักรสยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก กุศโลบายของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยอยู่ฝ่ายเดียวกับฝ่ายพันธมิตร ทำให้สยามได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ อันนำมาซึ่งการแก้ไขสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรมทั้งหลาย
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ทำให้คณะราษฎรเข้ามามีบทบาทในทางการเมือง ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศไทยได้ลงนามเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา โดยมีนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศไทยยังถือได้ว่าอยู่ในระบอบเผด็จการในทางปฏิบัติอยู่หลายทศวรรษ ประเทศไทยประสบกับความไร้เสถียรภาพทางการเมือง และได้มีการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลทหารผ่านการก่อรัฐประหารหลายสิบครั้ง อย่างไรก็ดี หลังจากนั้นได้มีเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตยครั้งสำคัญในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ประชาธิปไตยในประเทศเริ่มมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังเกิดวิกฤตการณ์การเมือง ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2548
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)